เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร]
แสดงคุณพระศาสดาอย่างอื่นอีก

ฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ เรียกว่า อริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลว่า
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึง
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่า
เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าไม่
ปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่
ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่ง
ที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงละวางสิ่งที่ปฏิกูล
และไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็ย่อมมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ เรียกว่า อริยะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในการแสดงฤทธิ์
พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นไม่มีเหลืออยู่ เมื่อทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้น
ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีธรรมข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไปอีก จะพึงมีสมณะหรือพราหมณ์
อื่นผู้รู้ธรรมยิ่ง มีปัญญาเกินไปกว่าพระผู้มีพระภาค ในเรื่องการแสดงฤทธิ์อีกหรือ

แสดงคุณพระศาสดาอย่างอื่นอีก

[160] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา1 ปรารภความเพียร2
มีเรี่ยวแรง3 จะพึงถึงด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ

เชิงอรรถ :
1 กุลบุตรผู้มีศรัทธา ในที่นี้หมายถึงพระโพธิสัตว์ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน (ที.ปา.อ. 160/84)
2 ปรารภความเพียร หมายถึงประคองความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อน (ที.ปา.อ. 160/84,ที.ปา.ฏีกา
160/100)
3 มีเรี่ยวแรง หมายถึงมีความพยายามอย่างมั่นคง (ที.ปา.ฏีกา 160/100)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :121 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [5. สัมปสาทนียสูตร] วิธีตอบคำถาม

บากบั่นของบุรุษ ด้วยความเอาธุระของบุรุษ1 สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงบรรลุ
เต็มที่แล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคไม่ทรงหมกมุ่นกับกามสุขัลลิกานุโยค2 ซึ่งเป็นธรรม
อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่ทรงหมกมุ่นกับอัตตกิลมถานุโยค3 ซึ่งเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง4 ซึ่งเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก5 ได้โดยไม่ลำบาก6

วิธีตอบคำถาม

[161] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่าน
สารีบุตร ได้มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นในอดีตกาล ซึ่งมีปัญญาในทางพระ-
สัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึง
ตอบว่า ‘ไม่มี’ ถ้าเขาถามว่า ‘จักมีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นในอนาคตกาล ซึ่งจะ
มีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้
ข้าพระองค์จะพึงตอบว่า ‘ไม่มี’ ถ้าเขาถามว่า ‘มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นในปัจจุบัน
ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้
ข้าพระองค์จะพึงตอบว่า ‘ไม่มี’

เชิงอรรถ :
1 ความเอาธุระของบุรุษ หมายถึงความมุ่งมั่นที่จะทำธุระให้สำเร็จลุล่วงได้ (ที.ปา.อ. 160/84)
2 กามสุขัลลิกานุโยค ในที่นี้หมายถึงการหมกมุ่นด้วยกามสุขในวัตถุกาม (ที.ปา.อ. 160/85)
3 อัตตกิลมถานุโยค ในที่นี้หมายถึงการหมกมุ่นที่เป็นเหตุให้ตนเดือดร้อน เร่าร้อน เช่น การบำเพ็ญตบะ
แบบทรมานตน (ที.ปา.อ. 160/55)
4 อันมีในจิตยิ่ง หมายถึงอยู่เหนือกามาวจรจิต (ที.ปา.อ. 160/85)
5 ได้โดยไม่ยาก หมายถึงสามารถเข้าฌานตัดปัจจนีกธรรมได้ง่าย (ที.ปา.ฏีกา 160/101)
6 ได้โดยไม่ลำบาก หมายถึงสามารถออกจากฌานได้ตามที่กำหนดไว้ (ที.ปา.ฏีกา 160/101)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :122 }